วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

การเขียนเรื่องสั้นเบื้องต้น



          ความหมาย เ ป็นการเขียนเล่าเรื่องแบบหนึ่ง และไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเขียนให้ได้ดี เพราะมันมีข้อจำกัดในเรื่องของ ขนาด เข้ามาเกี่ยวข้อง ความหมายที่ง่ายที่สุดของมันคือ เรื่องเล่าที่มีประมาณ ๑,๐๐๐ ถึง ๕,๐๐๐ คำเป็นอย่างมาก

     ลักษณะ

  • ต้องสมบูรณ์ในตัวมันเอง
  • อ่านจบแค่ในเวลาชั่วครู่
  • ทุกคำในเรื่องต้องสำคัญ และส่งผลต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในเรื่อง
  • ประโยคเริ่มเรื่องเป็นสิ่งบอกถึงตลอดทั้งเรื่อง
  • จบเมื่อไคล์แมกซ์
  • ตัวละครมีเท่าที่จำเป็น

     การแต่งเรื่อง

  • ชนิดผูกเรื่อง เป็นการแต่งโดยใช้พล็อตเป็นตัวเดินเรื่อง ใช้ความซับซ้อน น่าสงสัยของเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้คนอ่านสนใจติดตามว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นต่อไป และมักจะจบลงในลักษณะที่คนอ่านคาดไม่ถึง
      ( ไอเดียสำหรับการแต่งเรื่องมักจะมาจาก เหตุการณ์ สถานการณ์ เกร็ดประวัติ เรื่องเล่าพื้นเมือง หรือแม้กระทั่งข่าวคราวต่าง ๆ นักเขียนจะเอาสิ่งที่รู้เหล่านี้ มาผูกเป็นเรื่อง สร้างเหตุการณ์ ขึ้นมา เพื่อให้เกิดอีกเหตุการณ์หนึ่ง เพื่อจะนำไปสู่อีกเหตุการณ์หนึ่ง เสมอ จนกว่าเรื่องราวจะยุติ )
  • ชนิดเพ่งไปที่ตัวละคร เป็นการนำเสนอเรื่องราวของตัวละครในเรื่อง โดยมากมักจะเกี่ยวข้องกับความต้องการ ความขัดแย้ง อุปสรรค และการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งของตัวละคร คนอ่านจะสนใจในตัวละคร อยากรู้ว่าเขาจะทำอะไร และเขาจะได้รับผลจากการกระทำนั้นอย่างไรในตอนจบ
  • เน้นฉากสถานที่ เป็นเรื่องที่เน้นถึงบรรยากาศของสถานที่ และเวลา ที่ต่างออกไปจากปกติที่ตัวละครเคยอยู่ หรือพบเห็น เป็นที่แปลกใหม่สำหรับตัวละคร และสถานที่นั้นได้สร้างความรู้สึกนึกคิด และมีผลกระทบต่อตัวละคร โดยมากมักจะเห็นในเรื่องระทึกขวัญ
  • แสดงแนวคิด นักเขียนแต่งเรื่องขึ้นมาเพื่อนำเสนอแนวคิดของตัวเองในรูปแบบของเรื่องสั้นแทนการวิจารณ์แนะนำตรง ๆ เรื่องจะน่าสนใจ ถ้าเป็นหัวข้อที่กำลังอยู่ในการวิพากวิจารณ์ในสังคม หรือเป็นเรื่องที่สร้างความขัดแย้งอยู่ในสังคมขณะนั้น เช่นประเด็นการทำแท้งเสรี ตั้งบ่อนเสรี นักศึกษาขายตัว ศีลธรรมกำลังเสื่อม ฯลฯ
      ประเภท มีไม่ต่างไปจากนวนิยาย เรื่องรัก เรื่องลึกลับ เรื่องวิทยาศาสตร์ หรือ แฟนตาซี เรื่องประชดประชันหรือเสียดสีสังคม ฯลฯ

     องค์ประกอบ

  • Plot พล็อตเรื่อง
  • Character ตัวละคร Setting ฉากสถานที่
  • Dialogue บทพูด
  • Point of view มุมมอง
  • Theme แสดงแก่นเรื่องที่ต้องการจะเสนอ

      ก่อนจะเขียน

     คุณควรจะมีข้อมูลพอเป็นไอเดียอยู่สักหน่อย จากนั้นก็ขัดเกลามันให้อยู่ใน ๖ อย่างนี้
     ๑. Theme มันหมายถึงสิ่งที่เรื่องของคุณต้องการจะบอกบางสิ่งบางอย่างที่อาจให้แง่คิด หรือ แสดงความเห็นของคนเขียน คุณไม่จำเป็นต้องเทศน์ หรือสอน อธิบายให้กับคนอ่านว่าเรื่องมันมีคุณธรรมเพียงใด คนอ่านจะเรียนรู้จากเรื่องที่คุณเขียนเอง
     ๒. Plot เพื่อให้คนอ่านคงความสนใจคุณต้องมีพล็อตเรื่อง ความขัดแย้งหรือการต่อสู้ดิ้นรนของตัวละครเอกที่เขาต้องเอาชนะ ไม่ว่าการต่อสู้นั้นจะเป็นระหว่างคนกับคน หรือเป็นการต่อสู้ของจิตใจตัวเอง ตัวละครเอกจะต้องชนะหรือสูญเสียด้วยตัวของเขาเอง ไม่ใช่จากความช่วยเหลือของคนอื่น ความขัดแย้งจะเป็นสิ่งนำเรื่องให้เดินต่อถึงไคล์แมกซ์ จนจบเรื่อง ( เคล็ดลับในการจัดเรียงเหตุการณ์ก็คือ เริ่มจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีผลกระทบต่อตัวละครเอกทีอยู่ดี ๆ ตามปกติ แล้วสถานการณ์ก็เลวร้าย จากนั้นตัวละครก็เอาชนะได้ในที่สุด )
     ๓. โครงสร้างของเรื่อง คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ เข้าไปอยู่ในเรื่องเลย ไม่ต้องอารัมภบท ให้รู้ไปเลยว่าใครคือใคร เป็นเรื่องของใคร ซึ่งตอนนี้คุณก็ต้องรู้แล้วนะว่า จะใช้มุมมองแบบบุคคลที่ ๑ หรือบุคคลที่ ๓ ( แบบบุคคลที่ ๑ เล่าแบบคนเล่าอยู่ในเหตุการณ์หรือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับเขาเองใช้คำแทนตัวว่า ฉัน ผม ข้าพเจ้า แบบบุคคลที่สาม ถ้าเลือกแบบนี้ ควรจะใช้มุมมองของตัวละครสำคัญเป็นคนเล่า อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมอง )
     ๔. สร้างตัวละคร ที่เหมาะสม และน่าสนใจ ทำให้คนอ่านอยากรู้เรื่องของเขา
     ๕. เลือกว่าจะให้เรื่องเกิดขึ้นที่ไหน และเมื่อไหร่
     ๖. ใช้บทพูดให้เร้าใจ กินใจ แสดงตัวตนของตัวละครได้อย่างเหมาะสม
     ๗. การเล่าเรื่องและการบรรยาย ให้บอกแต่สิ่งที่จำเป็นใช้เป็นประโยชน์ในเรื่อ อย่าเยิ่นเย่อ เพราะเรื่องสั้นจะจำกัดความยาวของเรื่อง ( วิธีจะรู้ว่ามีประโยชน์หรือไม่ ให้ลองตัดทิ้งคำหรือประโยคนั้นๆ ออกไป แล้วดูว่ายังสร้างความเข้าใจให้กับคนอ่านหรือไม่ ถ้าคนอ่านเข้าใจและสามารถจินตนาการได้ก็เอาออกไปเลย )
     ๘. จะให้ดี ในเรื่องสั้น ควรจะมุ่งไปที่ จุดขัดแย้ง เพียงอย่างเดียว ที่ตัวละครสำคัญจะต้องเอาชนะให้ได้

     เริ่มต้นสร้างเรื่องอย่างง่าย ๆ

  • หาตัวละครมา
  • ใส่ความต้องการบางอย่างให้เขา ( พอใจหรือไม่พอใจในสถานภาพของตัวเอง)
  • เติมอุปสรรค หรือปัญหา ที่ขัดขวางไม่ให้เขาไปถึงความต้องการนั้น
  • บีบคั้นเขาด้วยความยากลำบากหรือความผิดพลาดที่มากขึ้น
  • พาเขาออกมาจากสถานการณ์นั้น ๆ ด้วยความสามารถของเขาเอง
  • จบเรื่อง

      ตัวอย่าง

  • สร้างตัวละคร A ให้น่าสนใจด้วยบุคลิกลักษณะ การกระทำ นิสัย หรืออื่น ๆ
  • ทำให้สถานภาพเขาเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะจากอะไรก็ได้ ฝนตก รถติด เมียหย่า พ่อตาย ตกงาน ( โดยมากมักจะเป็นเรื่องร้าย ๆ )
  • ต้องมีเวลาจำกัด ในการที่จะแก้ไขเรื่องเลวร้ายที่เกิดขึ้นเพื่อบีบให้เรื่องเข้มข้น เช่น เมียจะคลอดแต่รถติด ต้องปลดชนวนระเบิดให้ได้ภายใน ๒๐ นาที ต้องบอกเรื่องสำคัญต่อตำรวจภายในคืนนี้ ฯลฯ
  • สถานการณ์นั้นต้องมีผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร A อย่างใหญ่หลวงที่จะทำให้เขาเป็นตาย หรือระเบิดอารมณ์ออกมาได้พอกัน
  • สร้างตัวละคร B พร้อมทั้งบุคลิกลักษณะ นิสัย หรืออื่น ๆ
  • จุดชนวนความลึกลับ หรือความสงสัยให้กับคนอ่าน ในขณะที่ตัวละครพอจะเข้าใจในบางสิ่งบางอย่างในเรื่องแล้วแต่คนอ่านยังไม่รู้โดยตรง
  • สร้างความต้องการที่แตกต่างกันระหว่างตัวละคร เช่น A ต้องการไปต่อ แต่ B ให้หยุดรอ
  • ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง A และ B ที่แสดงออกมา ไม่ใช่ใครคนเดียว
  • A พยายามหาทางแก้ไขในปัญหา
  • สถานการณ์บิดเบือน ไม่เป็นอย่างที่คาดหมาย
  • เรื่องเริ่มเลวร้ายลง เวลาหมดไปเรื่อย
  • จุดวิกฤต ต้องเลือกตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • ผลสุดท้าย
     คำแนะนำ
     ๑. เกาะติดกับขนาดที่จำกัดของแบบในการเขียนเรื่องสั้น โดยทั่วไปจะมีความจำกัดของกรอบและตัวละคร บทพูดมีพลังจูงใจ ฉากสถานที่ต้องการ แต่ไม่จำเป็นต้องอธิบายรายละเอียดมาก หลีกเลี่ยงพล็อตย่อย
     ๒. การเปิดเรื่องไม่แน่นอนตายตัว ว่าเป็นการบรรยาย และการสังเกตประจำ ยกเว้นการบรรยายนั้นจะแสดงถึงสิ่งที่ถูกรบกวนในขณะนี้น ก่อนที่การกระทำจะร้อนขึ้น แต่อย่าให้มันมากนัก
     ๓. เริ่มเรื่องสั้นด้วยกระตุ้นเหตุการณ์ ที่ชักจูงไปสู่ความเข้มข้น เหตุการณ์ที่ระเบิดขึ้นมักจะเกี่ยวพันกับการถูกขู่เข็ญที่ทำให้สถานภาพของตัวละครเอกเปลี่ยนแปลง
     ๔. การต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวของตัวละครเอก มีผลกระทบต่อคนอ่าน
     ๕. เรื่องสั้นจำเป็นต้องเสนอบางสิ่งบางอย่างที่สร้างความรู้สึกให้กับคนอ่าน ให้คนอ่านร่วมความรู้สึกไปกับตัวละครร่วมเห็นอกเห็นใจไปกับตัวละครด้วย
     ๖. เรื่องสั้นควรจะถูกเล่าจากมุมมองของคน ๆ คนเดียว นอกจากคุณจะมีประสบการณ์ในการเขียนมากไปกว่านี้
     ๗. หลีกเลี่ยงความเกินพอดี ทุกรายละเอียดจะต้องเป็นประเด็นสู่พล็อต
๘. เหมือนเรื่องแต่งประเภทอื่นที่ต้องให้ตัวละคร ดิ้นรนที่หรือลอยคอท่ามกลางความเลวร้าย หรือมีทางเลือกที่ย่ำแย่พอกัน
     ๙. ให้ตัวละคร มีข้อบกพร่อง อ่อนแอ และมุ่งไปยังข้อสรุปที่คาดไม่ถึง
     ๑๐. ขัดเกลาไอเดียของคุณเกี่ยวกับชุดของเหตุการณ์ที่ตัวละครแสดงหรือพูดออกมา และเหตุการณ์นั้นต้องเผยให้คนอ่านรู้ในเวลาที่เป็นจริง
     ๑๑. อย่ายืดเยื้อในตอนจบ
     ๑๒. โดยทั่วไปเรื่องสั้นมักจะเกี่ยวกับ ความขัดแย้ง การตัดสินใน หรือการค้นพบ มันต้องมีสิ่งสำคัญเป็นประเด็นหลักสำหรับตัวละครเอก พล็อตขัดแย้งต้องถูกวางเพื่อให้ตัวละครอื่นเป็นตัวขัดขวาง และเผชิญหน้าในตอนไคล์แมกซ์ ถ้าไคล์แมกซ์ของเรื่องสั้นมีตัวละครเอกกำลังตัดสินใจ การตัดสินใจนี้ต้องห่างจากการเข้าถึงผลที่จะตามมาภายหลัง( เพราะมันไม่ควรจะมีอะไรมากไปกว่านี้แล้ว ) ถ้าเรื่องจบลงด้วยตัวละครค้นพบความจริงบางอย่าง ความจริงนี้ควรจะเป็นสิ่งที่ที่ทำให้ชีวิตของตัวละครเปลี่ยนไป

      เคล็ดลับเมื่อจะเขียนเรื่องสั้น
  • ให้มีตัวละครในเรื่องน้อยที่สุด
  • ร่างรายการถึงตัวละคร และ สิ่งที่คุณอยากจะให้เกิดในเรื่องอย่างสั้น ๆ
  • ในแผนการเขียนของคุณ ต้องเตรียมย่อหน้าที่จะเสนอฉากสถานที่และการแนะนำตัวละครให้คนอ่านรู้จัก
  • การเปิดเรื่องของคุณต้องมีผลกระทบใจคนอ่าน
  • หัวใจสำคัญต้องรู้ว่าเรื่องของคุณเกิดที่ไหน เกี่ยวกับอะไร และมุ่งไปสู่ประเด็นนั้น อย่าโอ้เอ้ออกนอกเรื่องในสิ่งไม่จำเป็น
  • บทสรุปเรื่องในสองสามย่อหน้าสุดท้ายต้องขมวดทุกอย่างเข้าด้วยกัน และต้องตอบข้อสงสัยที่คุณเปิดประเด็นเอาไว้
  • คุณอาจจะหักมุมในตอนจบ เพื่อสร้างสิ่งที่คาดไม่ถึงให้กับคนอ่าน
  • เขียนให้ตรงประเด็นและเรียบง่ายที่สุด
ที่มา:http://www.forwriter.com/mysite/forwriter.com/newwriterroom/newwriteshortstory.htm
รูปภาพ:http://www.google.co.th/imgresum=1&hl=th&sa=N&biw=1280&bih=709&tbm=isch&tbnid=D88wzXKaHylTsM:&imgrefurl=http://ultimatemek.exteen.com/20070421/entry&docid=oJzqJptN2RcJ4M&imgurl=http://uc.ext

การเป็นพิธีกรที่ดี

หน้าที่ของพิธีกร
พิธีกร (Master of Ceremony: MC) คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่าง ๆ เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่ กำกับ / นำ / อำนวยการ ให้กิจกรรม รายการหรือ พิธีการต่าง ๆ ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จ เรียบร้อยตามวัตถุประสงค์และกำหนดการที่วางไว้
1. เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟัง / ผู้ชม / ผู้เข้าร่วมพิธี โดยอย่างน้อยจะต้องมี ขบวนการดังต่อไปนี้ เช่น ตามลำดับ ในแต่ละกิจกรรม
     1. แจ้งกำหนดการ
     2. แจ้งรายละเอียดของรายการ
     3. แนะนำผู้พูด ผู้แสดง
     4. ผู้ดำเนินการอภิปรายและอื่น ๆ
2. เป็นผู้เริ่มกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการ เช่น
    1. กล่าวทักทาย ต้อนรับเชิญเข้าสู่งาน
    2. เชิญเข้าสู่พิธี ดำเนินรายการต่าง ๆ แล้วแต่กิจกรรม
    3. เชิญ เปิดงาน – ปิดงาน
         3. เป็นผู้เชื่อมโยงกิจกรรม / งาน / พิธี / รายการต่าง ๆ เช่น
             1. กล่าวเชื่อมโยงเหตุการณ์ตามลำดับ
             2. แจ้งให้ทราบเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการ
             3. แจ้งขอความร่วมมือ
             4. กล่าวเชื่อมโยงรายการให้ชวนติดตาม
             5. เป็นผู้ส่งเสริมจุดเด่นให้งานหรือกิจกรรมและบุคคลสำคัญในงานพิธี / รายการโดยพิธีกรจะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่ในวาระที่เหมาะสม เช่น
             6. กล่าวยกย่องสรรเสริญ ชื่นชมบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้องในพิธี
             7. กล่าวถึงจุดเด่นของงานพิธีนั้น ๆ
             8. กล่าวแจ้งผลรางวัลและการมอบรางวัล
        4. เป็นผู้ที่สร้างสีสัน บรรยากาศของงาน / พิธี / รายการ เช่น
            1. ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมเป็นระยะ
            2. มีมุขขำขึ้นเป็นระยะ ๆ 
       5. เป็นผู้เสริมสร้างความสมานฉันท์ในงาน / กลุ่มผู้ร่วมงาน เช่น 

           1. กล่าวละลายพฤติกรรม
           2. กล่าวจูงใจให้รักสามัคคี
       6. เป็นผู้เติมช่องว่างและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในงานพิธีต่าง ๆ เช่น
          1. กล่าวชี้แจงกรณีบุคคลสำคัญไม่สามารถมาช่วยงานพิธีต่าง ๆ ได้
          2. กล่าวทำความเข้าใจกรณีต้องเปลี่ยนแปลงกำหนดการ
โฆษกผู้ประกาศ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงาน องค์กร กับประชาชน เพื่อให้ได้รับความสนับสนุนร่วมมือ อันจะทำให้กิจการงานนั้น ๆ ประสบผลสำเร็จ ได้ตามวัตถุประสงค์ ด้วยวิธีการที่แตกต่างในแต่ละกิจกรรม เช่น
• การบอกกล่าว
• การชี้แจง 
• การเผยแพร่
• แก้ความเข้าใจผิด
• การสำรวจประชามติ
บทบาทการทำหน้าที่ของโฆษกผู้ประกาศ โดยการใช้เครื่องมือด้านสื่อต่าง ๆ เช่น เอกสาร สื่อวิทยุโทรทัศน์ จัดเวทีประชาคม เดินสำรวจประชามติ เป็นกระบวนการประชาสัมพันธ์ ที่จะต้องดำเนินการต่อไป เช่นกระบวนการจัดกิจกรรมโดยใช้เวทีประชาคม ผู้ที่จะต้องทำหน้าที่ ในการควบคุม ดำเนินการให้ไปตามวัตถุประสงค์ในแต่ละครั้ง ผู้ที่เป็นพิธีกรในการดำเนินการรายการดังกล่าว จะต้องมีความเข้าใจ ในกระบวนการ และรู้หลักการวิธีการ ในการดำเนินการดังกล่าวนั้น ๆ เป็นภาระหน้าที่ของพิธีกรทั้งสิ้น ฉะนั้นจำเป็นที่จะต้อง ศึกษาบทบาทหน้าที่ของพิธีกรดังต่อไปนี้
พิธีกร คือ บุคลากรที่จะต้องพูดโดยใช้ความสามารถเฉพาะตนจากการฝึกฝนและศึกษาเท่านั้น ไม่ใช้สักแต่จะพูดอย่างเดียวไม่ มีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมที่จะต้องรับผิดชอบในด้านการพูดในตำแหน่งพิธีกร ฉะนั้น จะต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจก่อนจะเป็นการเริ่มต้นที่จะทำหน้าที่ในการเป็นพิธีกรในกิจกรรมต่าง ๆ พิธีกรหรือโฆษก อาจจะเป็นบุคคลคนเดียวกันในกิจกรรมนั้น ๆ สร้างความเข้าใจในข้อมูล ต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ต่อกิจกรรมต่าง ๆ ของข้อเท็จจริง ให้ทัศนะ ในโอกาสที่จะต้อง ปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์ ในแต่ละกิจกรรม พิธีกร จะถูกกล่าวถึงมากในกรณีที่เป็นทางการ ส่วนโฆษกจะเป็นคำที่เรียกใช้ในส่วนที่ก่อนถึงเวลาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ หรือบางครั้งในท้องถิ่นชนบทจะเรียกรวมกันเช่น “ โฆษกพิธีกร ดำเนินการ ต่อไป ” ไม่ว่าจะเรียกว่าพิธีกรหรือโฆษกในกิจกรรมนั้น ๆ จะต้องเป็นการพูดคุยในที่ชุมชน นั่นคือต่อคนส่วนมากทุกครั้งเป็นการพูดในที่ชุมชน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมาก หากพูดผิดก็จะทำให้เสื่อมเสียแก่ตนเองและองค์กร และถ้าหากทำดีพูดดีก็จะมีสง่าราศีแก่ตนเองเช่นกัน ดังสุภาษิต ของสุนทรภู่ที่ว่า
“ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดอยู่ที่พูดให้ถูกทาง 
ฉะนั้น คนที่เป็นพิธีกรที่ดี มีความสามารถจะต้องมีการฝึกฝนเรียนรู้ในหลักการ กลยุทธ์ในการพูดคุยต่าง ๆ ดังนี้ เช่น
• เตรียมพร้อม
• ซ้อมดี
• ท่าทีสง่า
• หน้าตาสุขุม
• ทักที่ประชุมอย่าวกวน
• เริ่มต้นให้โน้มน้าว
• เรื่องราวให้กระชับ 
• จับตาที่ผู้ฟัง 
• เสียงดังให้พอดี 
• อย่าให้มีอ้ออ้า 
• ยิ้มแย้มแจ่มใสตลอดเวลา
บุคคลที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีการเตรียมความพร้อมและเตรียมตัวในการทำหน้าที่ จะมี กลุ่มคือ
1. รู้ตัวก่อนและจะต้องเตรียมตัว
2. ไม่รู้มาก่อน จะต้องไปใช้ปฏิภาณ ไหวพริบทุกคนทำได้

คลิปตัวอย่าง




คำราชาศัพท์

     คำราชาศัพท์ หมายความว่า ศัพท์หลวง ศัพท์ราชการ และหมายรวมถึงคำสุภาพซึ่งนำมาใช้ให้ถูกต้องตามชั้นหรือฐานะของบุคคล บุคคลผู้ที่พูดต้องใช้ราชาศัพท์ด้วย
จำแนกเป็น 5 ประเภท คือ
1. พระมหากษัตริย์
2. พระบรมวงศานุวงศ์
3. พระสงฆ์
4. ข้าราชการชั้นสูงหรือขุนนาง
5. สุภาพชนทั่วไป

คำราชาศัพท์แบ่งได้  6 หมวด คือ
1. หมวดร่างกาย
2. หมวดเครือญาติ
3. หมวดเครื่องใช้
4. หมวดกริยา
5. หมวดสรรพนาม
6. หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์
หมวดร่างกาย
หมวดเครือญาติ    
หมวดเครื่องใช้
หมวดคำกริยา
หมวดสรรพนาม
หมวดคำที่ใช้กับพระสงฆ์


คำสุภาพ
คำที่เหมาะใช้กับบุคคลทั่วไป เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน



ข้อสังเกต
เกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ ระดับพระมหากษัตริย์และบรมวงศานุวงศ์
คำนาม
1. ใช้คำ “พระบรม” หรือ “พระบรมราช” นำหน้าคำนามที่สำคัญ ซึ่งสมควรจะเชิดชูให้เป็นเกียรติ
ตัวอย่าง พระบรมราชโองการ
พระบรมราชูปถัมภ์
พระบรมมหาราชวัง
พระบรมวงศานุวงศ์
2. ใช้คำ “พระราช” นำหน้าคำนามที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ซึ่งต้องการกล่าวไม่ให้ปนกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง
พระราชลัญจกร
พระราชประวัติ
พระราชดำริ
พระราชทรัพย์
3. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน ตัวอย่าง
พระเก้าอี้
พระชะตา
พระโรค
พระตำหนัก
4. ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน
ยกเว้น
คำกริยา


กริยา คำว่า “ทรง”
คำว่าทรง ทรง ตามด้วย คำนาม มีความหมายถึง กษัตริย์เทพเจ้า
ตัวอย่าง ทรงธรรม ทรงชัย ทรงฉัตร     หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน
    ทรงหงส์            หมายถึง พระพรหม
    ทรงโค              หมายถึง พระอิศวร
    ทรงครุฑ            หมายถึง พระนารายณ์
คำว่าทรง คำนาม ตามด้วย ทรง บอกให้ทราบว่า สิ่งนั้นเป็นของพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง เครื่องทรง รถพระที่นั่งทรง ม้าทรง
คำว่าทรงตามด้วยนามราชาศัพท์  ตัวอย่าง ทรงยินดี ทรงฟัง ทรงนิ่ง
คำว่าทรงหมายถึงทำ ตัวอย่าง ทรงบาตร     หมายถึง ใส่บาตร
    ทรงม้า        หมายถึง ขี่ม้า
    ทรงกรม        หมายถึง มีฐานันดรเป็นเจ้าต่างกรม
คำว่าทรงเมื่อใช้กับกริยา “มี” และ “เป็น”
• ถ้าคำนามข้างหน้าเป็นราชาศัพท์ ไม่ต้องใช้ทรง
ตัวอย่าง เป็นพระราชโอรส มีพระบรมราชโองการ
• ถ้าคำนามข้างหลังเป็นคำสามัญ ต้องใช้ทรง
ตัวอย่าง ทรงเป็นประธาน ทรงมีทุกข์

คำในภาษาไทย

คำในภาษาไทย มี ๗ ชนิด ดังนี้
๑.  คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ บุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่
คำนาม แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้
     ๑.๑  นามทั่วไป หรือสามานยนาม เป็นคำนามที่ไม่ชี้เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คน นักเรียน บุรุษไปรษณีย์ กีฬา
     ๑.๒  นามชื่อเฉพาะ หรือวิสามานยนาม เป็นชื่อเฉพาะของบุคคล หรือสถานที่ เช่น สมศักดิ์ สุดา มีนบุรี ฉะเชิงเทรา
     ๑.๓  นามบอกลักษณะ หรือลักษณนาม เป็นคำนามบอกลักษณะ เช่น ผล ตัว อัน แท่ง ใบ
     ๑.๔  นามบอกหมวดหมู่ หรือสมุหนาม เป็นคำนามบอกหมวดหมู่ เช่น โขลง ฝูง หมู่ เหล่า
     ๑.๕  นามบอกอาการ หรืออารการนาม เป็นคำที่เกิดจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า การ หรือ ความ นำหน้า เช่น การวิ่ง ความดี ความจริง
๒.  คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้เเทนคำนาม เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำๆ
คำสรรพนาม แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ดังนี้
๒.๑  บุรุษสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้เเทนนาม มี ๓ ชนิด ดังนี้
        สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้เรียกแทนผู้พูด เช่น ข้าพเจ้า ฉัน ดิฉัน ผม
        สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้เรียกแทนผู้ฟัง เช่น เธอ ท่าน คุณ
        สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้เรียกเเทนผู้ถูกกล่าวถึง เช่น มัน เขา ท่าน
๒.๒ สรรพนามชี้ระยะ เป็ฯสรรพนามที่กำหนดให้เรารู้ว่า คน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่ที่กล่าวถึงนั้นอยู่ในระยะใกล้ไกลเพียงใด เช่น
        นี่ ใช้กับ สิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุด
        นั่น ใช้กับ สิ่งที่อยู่ไกลหรือห่าวออกไป
๒.๓  สรรพนามใช้ถาม ใช้เเทนคำนามที่ผู้ถามต้งอการคำตอบ ได้แก่ อันไหน สิ่งใด ใคร อะไร เช่น
        เธอชอบอันไหน        คุณเลือกสิ่งใดในตู้นี้
๒.๔  สรรพนามบอกความไม่เจาะจง ใช้เเทนคำนามที่กล่าวถึง โดยไม่ต้องการคำตอบ ได้แก่ ใคร อะไร สิ่งใด หรืออาจจะใช้คำซ้ำ เช่น
        ฉันไม่เห็นใครขยันอย่างเขา
        รู้สิ่งใดหรือจะสู้รู้วิชา
๒.๕  สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ ใช้เเทนคำนามที่กล่าวมาก่อนเเล้ว และต้องการกล่าวซ้ำอีกโดยไม่ต้องเอ่ยคำนามนั้นอีกครั้ง ได้แก่ บ้าง ต่าง กัน เช่น
        ประชาชนต่างไปลงคะเเนนเสียงเลือกผู้เเทนราษฎร (ความหมายแยกแต่ทำในสิ่งเดียวกัน)
๒.๖  สรรพนามเชื่อมประโยค ใช้เเทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า และเมื่อต้องการกล่าวซ้ำ ทำหน้าที่เชื่อประโยค ๒ ประโยค เข้าด้วยกัน ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ เช่น
        คนที่เดินมาเป็นน้องชั้น
        เมื่อเเยกประโยคจะได้ ดังนี้ คนเดินมา และ น้องฉัน ส่วนคำว่า ที่ เเทนคำว่า คน
๒.๗  สรรพนามใช้เน้นนามตามความรู้สึกของผู้พูด ใช้หลังคำนามเพื่อบอกความรู้สึกที่มีต่อบุคคลที่กล่าวถึง เช่น
        เด็กๆ แกหัวเราะเสียงดัง (บอกความรู้สึกเอ็นดู)
        คุณแอมเธอดีกับทุกคน (บอกความรู้สึกยกย่อง)
๓.  คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ หรือสภาพ หรือการกระทำในประโยค บางคำมีความหมายสมบูรณ์ แต่บางคำต้องอาศัยคำอื่นมาประกอบ หรือใช้คำประกอบคำอื่นเพื่อให้ความหมายชัดขึ้น
คำกริยา แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้
๓.๑  กริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ เรียกว่า "อกรรมกริยา" เช่น เดิน วิ่ง ร้องไห้
๓.๒  กริยาที่ต้องอาสัยกรรมมาทำให้สมบูรณ์ เรียกว่า "สกรรมกริยา" เช่น ทำ ซื้อ กิน
๓.๓  กริยาที่ช่วยให้กริยาอื่น มีความหมายชัดเจนขึ้น เรียกว่า "กริยานุเคราะห์" เช่น คง จะ น่า แล้ว อาจ นะ ต้อง
๓.๔  กริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้มีความหมายสมบูรณ์ ส่วนเติมเต็มนี้ไม่ใช้กรรม คำกริยาดังกล่าว ได้แก่ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ
๓.๕  กริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม อาจเป็นประธาน กรรม หรือบทขยายประโยค คำกริยาชนิดนี้มักจะมีคำว่า "การ" เช่น พูด อย่างเดียวไม่ทำให้งานสำเร็จหรอก
๔. คำวิเศษณ์ คือ คำที่ช่วยขยายคำอื่น ให้มีเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น
หน้าที่ของคำวิเศษณ์ มีดังนี้
๔.๑  ประกอบคำนาม เช่น คนงาม ชายหนุ่ม มะพร้าวอ่อน ผ้าบาง
๔.๒  ประกอบคำสรรพนาม เช่น เขาสูง เธอสวย มันดุ
๔.๓  ประกอบคำกริยา เช่น วิ่งเร็ว อยู่ไกล นอนมาก
๔.๔  ประกอบคำวิเศษณ์ เช่น อากาศร้อนมาก เธอดื่มน้ำเย็นจัด
๕. คำบุพบท คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงคำหนึ่ง หรือกลุ่มคำหนึ่งให้สัมพันธ์กับคำอื่นหรือกลุ่มคำอื่น เพื่อบอกสถานที่ เวลา แสดงอาการ หรือเเสดงความเป็นเจ้าของ เช่น คำว่า กับ แก่ แต่ ต่อ จาก เพื่อ โดย จน บน ใต้ กลาง ของ สำหรับ ระหว่าง เฉพาะ เช่น
      เเม่ทำเพื่อลูก              "เพื่อ"    เป็นบุพบทเเสดงอาการ
      เขามาเมื่อเช้านี้           "เมื่อ"    เป็นบุพบทนอกเวลา
      ลูกชายนั่งอยู่ข้างพ่อ    "ข้าง"   เป็นบุพบทบอกสถานที่
      ฉันเดินกับเขา               "กับ"    เป็นบุพบทบอกความเกี่ยวเนื่องกัน
๖.  คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมประโยคกับประโยค ข้อความที่มีคำสันธานเชื่อมอยู่นั้นมักจะเเยกออกได้เป็นประโยคมากกว่าหนึ่งประโยค เช่น
        เเม่เต่าเดินเร็วแต่ลูกเต่าเดินช้า
        ติ๊กและต๊อกเป็นเด็กมีน้ำใจ
        ครูให้อภัยเขาเพราะเขาสำนึกผิด
        บ้านเเละโรงเรียนควรร่วมมือกันแก้ปัญหาเรื่องเด็ก
๗.  คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อเเสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้พูด ส่วนมากจะไม่มีความหมายตรงตามถ้อยคำ แต่จะมีความหมายทางการเน้นความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ
คำอุทาน แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๗.๑  คำอุทานบอกอาการ ใช้บอกอาการในการพูดจากัน เช่น
       โธ่! ไม่น่าเลย                                     โอ๊ย! น่ากลัวจริง
       เอ๊ะ! ทำอย่างนี้ได้อย่างไร                      ตายแล้ว! ทำไมเป็นอย่างนี้
คำอุทานบอกอาการจะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับอยู่ คำอุทานบอกอาการนี้ จะพูดออกมาเพื่อเเสดงอารมณ์ของผู้พูด เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ แปลกใจ ฯลฯ
๗.๒  คำอุทานในบทร้อยกรอง คำอุทานเหล่านี้จะปรากฎอยู่ในบทร้อยกรอง เช่น อ้า โอ้ เอย เอ๋ย เฮย แล แฮ นา นอ ฯลฯ  ใช้เเทรกลงในถ้อยคำเพื่อความสละสลวย เช่น
                            โอ้ดวงเดือนก่ำฟ้า                   ชวนฝัน ยิ่งเอย
                   ในพฤกษ์จับเเสงจันทร์                      ป่ากว้าง
                   หมู่เเมลงเพรียกหากัน                        ดุจเพื่อน รักนา
                   ป่าปลอบผู้อ้างว้าง                            ปลดเศร้าอุราหมอง
                                                                                  จตุภูมิ วงษ์แก้ว
๗.๓ อุทานเสริมบท ใช้กล่าวเป็นการเสริมคำในการพูดเพื่อเน้นความหมายให้ชัดเจนขึ้น ทำให้สนุกในการออกเสียงให้น่าฟังขึ้น เช่น
      เธอไม่สบายต้องกินหยูกกินยานะ
      ช่วยหยิบถ้วยโถโอชามให้ด้วย
      เข้ามาดื่มน้ำดื่มท่าเสียก่อน
      ทำไมบ้านช่องถึงสกปรกอย่างนี้

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

วิธีการสังเกตคำบาลี-สันสกฤต

เรื่่องการสังเกต  คำบาลี- สันสกฤต

                  เรื่องนี้้  ฉันเขียนขึ้นตามคำขอของ  คุณ เด็กเรียน  ซึ่งขอมาตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน  พอดีฉันเดินทางไปเที่ยวประเทศ ฮังการี  เชค และออสเตรีย  ตั้งแต่วันที่  7-14  เมษายน  หลังจากกลับมาแล้ว  ฉันก็ติดภารกิจดูหนังสือเพื่อสอบภาษาจีนที่ลงเรียนไว้ที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  เลยทำให้การเขียนเรื่อง การสังเกตคำบาลี-สันกฤตตามคำขอของ คุณเด็กเรียน ช้าไปหน่อย  ต้องขอโทษนะคะ  หวังว่า  คุณเด็กเรียนคงเข้ามาอ่านตามที่ได้ขอเอาไว้ 

                 คำบาลี-สันสกฤต  เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในภาษาไทย  เพราะเป็นภาษาที่ไทยเรารับเข้ามาใช้ในภาษาไทยมากเหลือเกิน    และที่สำคัญ  เราจำเป็นต้องรู้จักสองภาษานี้  เพื่อที่จะทำให้เราเรียนรู้เรื่องของคำสมาสได้  (ซึ่งคำสมาสจะมีสองวิธี  คือ วิธีสมาสและวิธีสนธิ)    เนื่องจาก  คำสมาส ต้องมาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น  จึงจะนำมาสมาสและสนธิไ้ด้  นั่นเอง  

                 หลักการสังเกตคำบาลี-สันสกฤต

1. คำบาลีส่วนใหญ่จะมีตัวสะกดตัวตาม  หมายถึงมีตัวสะกดตามพยัญชนะวรรคที่ได้แบ่งไว้  ดังนี้   (ส่วนคำสันสกฤตจะไม่มีตัวสะกดตัวตาม)

แถวที่            1                    2                   3                4                5

วรรค    ก        ก                  ข                   ค               ฆ                 ง
วรรค    จ        จ                  ฉ                   ช               ฌ                ญ
วรรค    ฏ        ฏ                  ฐ                   ฑ               ฒ               ณ
วรรค    ต        ต                  ถ                   ท               ธ                 น
วรรค    ป        ป                  ผ                   พ              ภ                 ม

ตามกฏ  แถวที่ 1 สะกด  ตัวที่ตามมา  มี ตัวแถวที่ 1หรือ 2 ในวรรคเดียวกัน เป็นตัวตามได้    เช่น  สักกะ    ทุกข์   เป็นต้น
              แถวที่ 3 สะกด  ตัวที่ตามมา  มี แถวที่ 3 หรือ 4 ในวรรคเดียวกันเป็นตัวตามได้  เช่น  กิจจา    อัจฉรา  เป็นต้น
              แถวที่ 5 สะกด  ตัวที่ตามมา  สามารถตามได้ทุกแถว แต่ต้องเป็นวรรคเดียวกัน  เช่น  องก์  (ตอนหนึ่ง  ฉากหนึ่ง)   สังข์    องค์    สงฆ์   (ง สะกด  ง  ตามไม่ค่ะ)   สัญญา  สัณฐาน   อัชฌาสัย   อัณฑะ  อันตะ  (ไส้ใหญ่)   เป็นต้น

2. สังเกตจากตัวพยัญชนะ  บาลีจะมีพยัญชนะ  33   ตัว  สันสกฤต มี  35 ตัว จะมีมากกว่า บาลี  2  ตัว  คือ    ตัว  ษ  ศ  ดังนั้น  ถ้าเห็นคำใดมี  ษ  หรือ ศ  คำนั้น ก็ไม่ใช่มาจากภาษาบาลีแน่นอน   เช่น  อุษา  ศิลปะ   กุศล  เป็นต้น
3.คำบาลีไม่นิยมคำควบกล้ำ  ดังนั้นถ้าเป็นคำควบกล้ำจะเป็นสันสกฤต  เช่น  วิทยา  (ทย กล้ำกัน )  บาลีจะใช้ว่า  วิชา  (วิชชา)    
4. คำสันสกฤต ใช้  รร  (ร เรผะ)  บาลีจะใช้  ริ  เช่น  จรรยา   บาลีใช้ว่า  จริยา  กริยา  บาลีใช้ว่า  กิริยา  เป็นต้น
5. สังเกตจากสระ  บาลี มีสระ  8 ตัว  สันสกฤตมี  14 ตัว  มากกว่า บาลี  6  ตัว คือ ฤ ฦ ฤาฦา ไอ เอา  ดังนั้น  ถ้าเราเห็นสระทั้ง 6 ตัวนี้  ก็บอกได้ว่า  เป็นสันสกฤตไม่ใช่บาลี  แน่นอน ค่ะ   เช่น   ฤาษี   ไมตรี  มไหศวรรค์  เยาวเรศ  เป็นต้น
6. สังเกตตัวพยัญชนะ  ถ้าบาลี  จะใช้  ฬ  ส่วนสันสกฤตจะใช้  ฑ  ฒ  เช่น  บาลีใช้  กีฬา  สันสกฤต ใช้ว่า  กรีฑา    จุฬา  เป็น  จุฑา  วิรุฬห์   เป็นวิรูฒ   เป็นต้น
7. สังเกต  จาก ตัว  ข  และ กษ  บาลี  จะใช้  ข  เมื่อสันสกฤตจะใช้  กษ  เช่น  เขมะ  สันสกฤตจะใช้ว่า  เกษม   ขณะ  สันสกฤตใช้ว่า  กษณะ  เป็นต้น
8.  สังเกตตัว  ส  ซึ่่งเป็นคำที่ใช้ได้ทั้ง คำบาลีและสันสกฤต  มักใช้กับพยัญชนะวรรค ตะ   (ทันตชะ)  เช่น  พัสดุ  พิสดาร  สวัสดี  เป็นต้น

             ฉันสรุปและยกตัวอย่างประกอบย่อ ๆ ดังกล่าวมาข้างต้น  หวังว่า  คงจะช่วยให้  "เด็กเรียน"  เข้าใจและใช้เป็นข้อสังเกต คำบาลีและสันสกฤตได้บ้างนะคะ

ลองทำแบบฝึกหัดสัก  5 ข้อ ซิคะ

1. คำบาลีในข้อใด  มีความหมายตรงกับสันสกฤต  ต่อไปนี้
    กฤษณะ     รัศมี     
    ก. กัณห   รัสส                                 ข. กัณณ  รังสี
    ค. กัณห   รังสี                                 ง.  กัณณ  รัสส
2. ข้อใดเป็นคำบาลี  ทุกคำ
    ก. อิจฉา  ขัตติยะ                             ข.  ปรกติ  ทิฐิ
    ค. ปรัชญา   สิกขา                           ง.  มณฑล  สมัคร
3. ข้อใด เป็นคำสันสกฤต  ทุกคำ
    ก.วิจิตร   แพทย์                               ข. อริยะ  เบญจรงค์
    ค. อัฒจันทร์  อัฉริยะ                        ง. อิสี  ขณะ  
4. ข้อใด  มีบาลี และสันสกฤต  อย่างละ  1 คำ
    ก. จรรยา  ประถม                               ข. กิตติ  อาชญา
    ค. อาทิตย์  สันติ                                 ง. อัคคี  มัชฌิม
5. ประโยชน์ใดไม่มีคำบาลี  สันสกฤตอยู่เลย
    ก. อย่าทำตัวเป็นคนวิตถารหน่อยเลย         ข. วันอาทิตย์หน้าฉันเรียนจบแล้ว
    ค. วิชาภมิศาสตร์ยากมากเลย                     ง. พ่อและแม่ของฉันไปเที่ยวยุโรป

เฉลย  1. ข้อ  ค        2. ข้อ ก      3. ข้อ ก      4. ข้อ ข       5. ข้อ ง   

        เป็นไงบ้าง  ถูกหมดไหมคะ   ขอให้โชคดีนะคะ   

โวหารภาพพจน์


 ๒.๑     ความหมายของโวหารภาพพจน์
                      โวหาร  คือ  การใช้ถ้อยคำอย่างมีชั้นเชิง  เป็นการแสดงข้อความออกมาในทำนองต่างๆ  เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความดี  มีความหมายแจ่มแจ้ง เหมาะสมน่าฟัง  ในการเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่างๆ  กัน  แล้วแต่ชนิดของข้อความ  (สมถวิล  วิเศษสมบัติ.๒๕๔๔ : ๑๒๙)
                      โวหารภาพพจน์  คือ กลวิธีการนำเสนอสารโดยการพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูด หรือเขียนให้แปลกออกไปจากภาษาตามตัวอักษรทำให้ผู้อ่านเกิดภาพในใจ    เกิดความประทับใจ
เกิดความรู้สึกสะเทือนใจ  เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน  (รัตนา  ศรีมงคล. http://www.thaigoodview.com/library /teachershow/ratchaburi/ratana_sri/index.html)

           ๒.๒    ประเภทของโวหารภาพพจน์
             ประเภทของโวหารภาพพจน์นั้น  สมถวิล  วิเศษสมบัติ. ๒๕๔๔ ๑๓๑  จันจิรา  จิตตะวิริยะพงษ์. ๒๕๔๙ : ๔๗๔ ; ภิญโญ  ทองเหลา. ๒๕๔๗ ๑๕ ; รัตนา  ศรีมงคล.http://www. thaigoodview.com/library /teachershow/ratchaburi/ratana_sri/index.html ได้กล่าวสอดคล้องกันไว้   ดังนี้



                      ๒.๒.๑   อุปมาโวหาร  (Simile)
                                         อุปมา  คือ  การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยใช้คำเชื่อมที่มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า     เหมือน     เช่น   ดุจ  ดั่ง  ราว  ราวกับ  เปรียบ ประดุจ  เฉก  เล่ห์  ปาน  ประหนึ่ง  เพียง  เพี้ยง  พ่าง  ปูน  ถนัด  ละหม้าย  เสมอ  กล  อย่าง ฯลฯ
 ตัวอย่างเช่น
                                   ปัญญาประดุจดังอาวุธ
                                   ไพเราะกังวานปานเสียงนกร้อง
                                   ท่าทางหล่อนราวกับนางพญา
                                   จมูกเหมือนลูกชมพู่                    ใบหูเหมือนทอดมันร้อนๆ
                              ปากเธอเหมือนกระจับอ่อนๆ         ฟันเรียงสลอนเหมือนข้าวโพดพันธุ์ดี
                                   ตาเหมือนตามฤคมาศ                   พิศคิ้วพระลอราช
                             ประดุจแก้วเกาทัณฑ์                          ก่งนา

                                   สูงระหงทรงเพรียวเรียวลูด            งามละม้ายคล้ายอูฐกะหลาป๋า
                             พิศแต่หัวจรดเท้าขาวแต่ตา                    สองแก้มกัลยาดังลูกยอ
                             คิ้วก่งดังก่งเขาดีดฝ้าย                             จมูกละม้ายคล้ายพร้าขอ
                              หูกลวงดวงพักตร์หักงอ                         ลำคอโตตันสั้นกลม
                             สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว                โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
                             เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม                  มันน่าเชยน่าชมนางเทวี
                                                                                     (ระเด่นลันได : พระมหามาตรี (ทรัพย์))


                             ๒.๒.๒     อุปลักษณ์  ( Metaphor )
                                  อุปลักษณ์  ก็คล้ายกับอุปมาโวหารคือเป็นการเปรียบเทียบเหมือนกัน  แต่เป็นการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง  การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง  มักจะมีคำ เป็น  คือ  มี ๓ ลักษณะ
                                         ๑.   ใช้คำกริยา เป็น  คือ    เปรียบเป็น  เช่น  โทสะคือไฟ
                                          ๒. ใช้คำเปรียบเป็น  เช่น  ไฟโทสะ  ดวงประทีปแห่งโลก   ตกเหวรักจะดิ้นรนไปจนตาย
                                         ๓.  แสดงการเปรียบเทียบโดยปริยาย  เช่น  มโหรีจากราวป่ามาเรื่อยรี่
                                                อุปลักษณ์จะไม่กล่าวโดยตรงเหมือนอุปมา แต่ใช้วิธีกล่าวเป็นนัยให้เข้าใจเอาเอง   ที่สำคัญอุปลักษณ์จะไม่มีคำเชื่อมเหมือนอุปมา
ตัวอย่างเช่น             ขอเป็นเกือกทองรองบาทา    ไปจนกว่าชีวันจะบรรลัย
                                   ทหารเป็นรั้วของชาติ
                                   เธอคือดอกฟ้าแต่ฉันนั้นคือหมาวัด
                                   เธอเป็นดินหรือเธอเป็นหญ้าแท้จริงมีค่ากว่าใครนิรันดร์
                                   ชาวนาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ
                                   ครูคือแม่พิม์ของชาติ
                                   ชีวิตคือการต่อสู้     ศัตรูคือยากำลัง
                             ๒.๒.๓      สัญลักษณ์  ( symbol )

                                   สัญลักษณ์ เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน  ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความ  ซึ่งใช้กันมานานจนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป   ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ประพันธ์ต้องการเปรียบเทียบเพื่อสร้างภาพพจน์หรือมิฉะนั้นก็อาจจะอยู่ในภาวะที่กล่าวโดยตรงไม่ได้  เพราะไม่สมควรจึงต้องใช้สัญลักษณ์แทน
        ตัวอย่างเช่น           เมฆหมอก          แทน       อุปสรรค
                                          สีดำ                     แทน       ความตาย  ความชั่วร้าย
                                          สีขาว                   แทน       ความบริสุทธิ์
                                          กุหลาบแดง       แทน       ความรัก
                                          หงส์                    แทน       คนชั้นสูง
                                          กา                        แทน       คนต่ำต้อย
                                          ดอกไม้                แทน       ผู้หญิง
                                          แสงสว่าง           แทน       สติปัญญา
                                          เพชร                   แทน       ความแข็งแกร่ง     ความเป็นเลิศ
                                          แก้ว                     แทน       ความดีงาม   ของมีค่า
                                          ลา                        แทน       คนโง่   คนน่าสงสาร
                                          ลา                        แทน       คนพาล    คนคด
                                         สุนัขจิ้งจอก       แทน       คนเจ้าเล่ห์
                                         ยักษ์                     แทน       อธรรม
                       อันของสูงแม้ปองต้องจิต                             ถ้าไม่คิดปีนป่ายจะได้หรือ
                ไม่ใช่ของตลาดที่อาจซื้อ                                    ฤๅแย่งยื้อถือได้โดยไม่ยอม
                ไม่คิดสอยมัวคอยดอกไม้ร่วง                             คงชวดดวงบุปผชาติสะอาดหอม
                ดูแต่ภุมรินเที่ยวบินตอม                                     จึ่งได้ดอมดมกลิ่นสุมาลี
                                                                                (ท้าวแสนปม : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว)




                             ๒.๒.๔      บุคลาธิษฐาน   (  Personification )
                                    บุคลาธิษฐาน หรือ บุคคลวัต  บุคคลสมมติ  คือการกล่าวถึงสิ่งต่างๆ ที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด   ไม่มีวิญญาณ  เช่น   โต๊ะ  เก้าอี้    อิฐ  ปูน    หรือสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่มนุษย์  เช่น ต้นไม้  สัตว ์   โดยให้สิ่งต่างๆเหล่านี้  แสดงกิริยาอาการและความรู้สึกได้เหมือนมนุษย์  ให้มีคุณลักษณะต่างๆ เหมือนสิ่งมีชีวิต   บุคลาธิษฐาน  มาจากคำว่า  บุคคล  อธิษฐานหมายถึง   อธิษฐานให้กลายเป็นบุคคล )
 ตัวอย่างเช่น             มองซิ..มองทะเล               เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน
                             บางครั้งมันบ้าบิ่น                    กระแทกหินดังครืนครืน
                             ทะเลไม่เคยหลับไหล              ใครตอบได้ไหมไฉนจึงตื่น
                             บางครั้งยังสะอื้น                      ทะเลมันตื่นอยู่ร่ำไป

                                    ฟ้าหัวเราะเยาะข้าชะตาหรือ          ดินนั้นถืออภิสิทธิ์ชีวิตข้าเองไม่เกรงดินฟ้า

                                    ไส้เดือนเที่ยวเกี้ยวสาว                    ชาวอัปสรนอนชั้นฟ้า
                             ทุกจุลินทรีย์อะมีบา                                เชิดหน้าได้ดิบได้ดี

                                    เสียงร้องไห้ร่ำหาเหมือนฟ้าร้อง                   พระเสื้อเมืองเมินมองแล้วร้องไห้
                             พระธรณีตีอกด้วยตกใจ                                         โลกบาลถอนฤทัยไม่อาจมอง


                              ๒.๒.๕      อธิพจน์  ( Hyperbole )
                                              อติพจน์ หรือ อธิพจน์  คือโวหารที่กล่าวเกินความจริง เพื่อสร้างและเน้นความรู้สึกและอารมณ์   ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ลึกซึ้ง   ภาพพจน์ชนิดนี้นิยมใช้กันมากแม้ในภาษาพูด  เพราะเป็นการกล่าวที่ทำให้เห็นภาพได้ง่ายและแสดงความรู้สึกของกวีได้อย่างชัดเจน
    ตัวอย่างเช่น            คิดถึงใจจะขาด
                                      คอแห้งเป็นผง
                                     ร้อนตับจะแตก
                                      หนาวกระดูกจะหลุด
                                     การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า
                                    คิดถึงเธอทุกลมหายใจเข้าออก

                                     เอียงอกเทออกอ้าง           อวดองค์  อรเอย
                             เมรุชุบสมุทรดินลง                   เลขแต้ม
                             อากาศจักจารผจง                      จารึก พอฤา
                             โฉมแม่หยาดฟ้าแย้ม                อยู่ร้อนฤาเห็น

                                            *ในกรณีที่ใช้โวหารต่ำกว่าจริงเรียกว่า  "อวพจน์"
ตัวอย่างเช่น             เล็กเท่าขี้ตาแมว
                                   เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว
                                   รอสักอึดใจเดียว


                             ๒.๒.๖   สัทพจน์  ( Onematoboeia )
                                          สัทพจน์  หมายถึง  ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ   เช่น   เสียงดนตรี    เสียงสัตว์   เสียงคลื่น    เสียงลม   เสียงฝนตก  เสียงน้ำไหล   ฯลฯ   การใช้ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริง ๆ
ตัวอย่างเช่น                 ลูกหมาร้องบ๊อก ๆ ๆ     ลุกนกร้องจิ๊บๆๆ    ลูกแมวร้องเหมียว ๆ ๆ
                                       เปรี้ยง ๆ  ดังเสียงฟ้าฟาด
                                       ตะแลกแต๊กแต๊กตะแลกแต๊กแต๊ก      กระเดื่องดังแทรกสำรวลสรวลสันต์
                                      คลื่นซัดครืนครืนซ่าที่ผาแดง
                                      น้ำพุพุ่งซ่า  ไหลมาฉาดฉาน    เห็นตระการ     เสียงกังวาน
                                มันดังจอกโครม จอกโครม       มันดังจอก  จอก  โครม  โครม
                                     บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว
                                     อ้อยอี๋เอียง  อ้อยอี๋เอียงส่งเสียงร้อง
                                    เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย     กระหึมโหยห้อยไม้น่าใจหาย
                                    ป๊ะโท่นป๊ะโท่นป๊ะโท่นโท่น


                              ๒.๒.๗      นามนัย ( Metonymy )
                                          นามนัย  คือ  การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง  คล้ายๆ สัญลักษณ์     แต่ต่างกันตรงที่  นามนัยนั้นจะดึงเอาลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด  หรือใช้ชื่อส่วนประกอบสำคัญของสิ่งนั้นแทนสิ่งนั้นทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น             เมืองโอ่ง                    หมายถึง         จังหวัดราชบุรี
                                   เมืองย่าโม                  หมายถึง         จังหวัดนครราชสีมา
                                   ทีมเสือเหลือง            หมายถึง         ทีมมาเลเซีย
                                   ทีมกังหันลม              หมายถึง         ทีมเนเธอร์แลนด์
                                    ทีมสิงโตคำราม         หมายถึง         อังกฤษ
                                   ฉัตร  มงกุฎ                หมายถึง         กษัตริย์
                                   เก้าอี้                            หมายถึง         ตำแหน่ง  หน้าที่
                                   มือที่สาม                     หมายถึง         ผู้ก่อความเดือดร้อน
                                   เอวบาง                       หมายถึง         นาง  ผู้หญิง


                             ๒.๒.๘      ปรพากย์  ( Paradox )
                                          ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์  คือการใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าว  อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น              เลวบริสุทธิ์
                                     บาปบริสุทธิ์
                                     สวยเป็นบ้า
                                     สวยอย่างร้ายกาจ
                                     สนุกฉิบหาย
                                     สวรรค์บนดิน
                                     ยิ่งรีบยิ่งช้า
                                     น้ำร้อนปลาเป็น                น้ำเย็นปลาตาย
                                     เสียน้อยเสียยาก                เสียมากเสียง่าย
                                     รักยาวให้บั่น                     รักสั้นให้ต่อ
                                     แพ้เป็นพระ                       ชนะเป็นมาร

ที่มา:http://gene901.exteen.com/20071124/entry-2