วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

หลักการพูดน้าวโน้มใจ


หลักการ
1) พูดตามจุดมุ่งหมายของการพูดจรรโลงใจ ให้เหมาะกับสถานการณ์ โอกาส เวลาในการพูด
2) พูดโดยคำนึงถึงผู้ฟังผู้พูดควรพูดให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่สูงส่งดีงามและชี้ให้เห็นถึงอุดมคติ หรือให้เห็นแนวทางในการดำเนินชีวิตจะทำให้ได้รับคุณค่าและประโยชน์การฟัง
3) สร้างบรรยากาศในการพูด โดยแทรกอารมณ์ขันที่ทำให้ผู้ฟังผ่อนคลายหรือมีอารมณ์สุนทรี
4) ใช้ถ้อยคำภาษา อ้างอิง คำคม หรือยกตัวอย่างต่างๆ เป็นอุทาหรณ์ที่ชัดเจนและตรงกับประสบการณ์ ความสนใจ และทัศนคติของผู้ฟังประเภทและตัวอย่างการพูดจรรโลงใจการพูดจรรโลงใจแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- พูดจรรโลงใจให้คลายทุกข์ การพูดจรรโลงใจให้บุคคลที่มีความทุกข์ได้คลายทุกข์จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทำให้บุคคลมีกำลังใจที่จะต่อสู้อุปสรรคต่อไป การพูดจรรโลงใจจึงช่วยปลุกปลอบใจให้ผู้มีความทุกข์ มีกำลังใจที่จะสร้างสรรค์ต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยไม่ท้อถอยแม้จะมีอุปสรรคสักเพียงใด
- พูดจรรโลงให้เพิ่มสุข การพูดจรรโลงให้ผู้ฟังมีความสุขการทำได้โดยการบอกเล่าเรื่องที่สนุกสนานแต่มีสาระประโยชน์ผู้ฟังจะเกิดความรู้สึกเพลิดเพลิน และมองเห็นโลกนี้สวยงามน่าอยู่ ในขณะเดียวกันก็ได้รับแนวคิดที่ดีจากการฟังอีกด้วยเรื่องที่นำมาพูดจรรโลงใจให้ผู้ฟังมีความสุข ได้แก่ นิทานสนุกๆ การแนะนำหนังสือหรือแนะนำให้ฟังเพลงหรือดูละคร การท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ เป็นต้น
- พูดจรรโลงใจให้คติข้อคิด การพูดจรรโลงใจให้คติข้อคิดแก่ผู้ฟัง เป็นการพูดที่ทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจที่จะทำความดีหรือนำข้อคิดต่าง ๆ จากการฟังไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้การพูดให้คติข้อคิดมักจะมีลักษณะเป็นการพูดสั่งสอน หรือให้โอวาทในโอกาสสำคัญๆหรือเมื่อเกิดเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดขึ้น ซึ่งผู้พูดจะนำเอาเหตุการณ์นั้นมาบอกเล่าแก่ผู้ฟัง โดยมีจุดมุ่งหมายในการพูดเพื่อให้ผู้ฟังได้แง่คิดและนำข้อคิดต่าง ๆ ไปพิจารณา หรือนำไปปฏิบัติต่อไป
บทความจาก : psuspeechclub.psu.ac.th
รูปภาพ : paktho.ac.th/student/thai1/index4_2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น